ส่วนประกอบแขนกั้นรถยนต์

เราคงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า แขนกั้นรถยนต์อัตโนมัติ มีจุดประสงค์ในการใช้งานเพื่อควบคุม และบันทึกรถเข้า-ออกประตูของอาคาร โรงงาน อาคารที่พัก คอนโดมิเนียม อพาร์ทเม้นท์ ฯลฯ ใช้ควบคุมการเข้าลานจอดรถยนต์ เพื่อความปลอดภัยจากรถหาย การเก็บค่าจอดรถยนต์รวมถึงการจัดการบริหารลานจอดรถ  โดย ไม้กั้นรถ มีหลายรุ่นหลายแบบ  ผู้ใช้ควรพิจารณาในแต่ละคุณสมบัติของแต่ละชนิด เพราะมีการทำหน้าที่เพื่อใช้งานที่แตกต่างกัน อย่างเช่น ความเร็วในการเปิด-ปิด การเปิด-ปิดอัตโนมัติ ระบบใช้รีโมท,แขนไม้กั้นอ้าออกไม่เสียหายเมื่อโดนรถชนแขนกั้นลงมาสัมผัสรถ หรือคนจะเกิดแรงต้านเพียงเล็กน้อยแขนกั้นจะยกกลับขึ้นโดยอัตโนมัติ และระบบป้องกันรถยนต์ชนแขนกั้นอื่นๆ

ในเบื้องต้น แขนกั้นรถยนต์ ทำจากท่ออลูมิเนียมอัลลอยด์ เพราะมีน้ำหนักเบากว่าโลหะ ยังมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 40มม. สามารถยาว3 เมตร -6เมตร และแบบท่อกลม ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 40มม.หรือเป็นกล่องแปดเหลี่ยม มีความยาว 3 เมตร – 6 เมตร ตรงใต้กล่องจะติดยางนุ่มไว้โดยตลอดความยาว เพื่อให้สัมผัสรถยนต์โดยไม่บุบเสียหาย แต่ไม่ว่าจะเป็น แขนกั้นรถยนต์ ชนิดไหนก็ตาม จะมีส่วนประกอบที่สำคัญที่พูดได้เลยว่าขาดอันใดอันหนึ่งไปไม่ได้ เพราะทุกอย่างที่จะกล่าวนี้ล้วนแต่มีหน้าที่ที่ทำให้แขนกั้นรถใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ส่วนประกอบแขนกั้นรถยนต์

ส่วนประกอบแขนกั้นรถยนต์

ตัวถังเครื่อง

  • ทำจากแผ่นเหล็กหนาประมาณ1.5-2.0 มม. พับเป็นรูปกล่องแข็งแรง แล้วเข้าสู่กระบวนการลงสีพื้นและพ่นสีเหลือง ส้ม แดง น้ำเงิน ขาว ตามแต่มาตรฐานของแต่ละประเภท ในประเทศไทยใช้สีเหลือง-ส้มเพราะในขณะที่มีแสงแดดน้อย โทนสีเหลืองจะได้ชัดเจน ทำให้ไม่น้อยที่จะเสี่ยเกิดการชน  ขนาดตัวถังประมาณ 320x280x1000 มม.  กันฝุ่นกันน้ำฝน ตามมาตรฐาน IP45

มอเตอร์ไฟฟ้า

  • เป็นตัวกำเนิดแรงบิดที่ถูกส่งไปยกแขนกั้นขึ้น  จึงมีความสำคัญมากเนื่องจากการยกแขนกั้น ต้องยกขึ้นลงด้วยความนุ่มนวล แขนจะมีความเร็วเกือบสม่ำเสมอ ตอนลงต่ำสุด ต้องไม่กระตุกทำให้เจ้าของรถยนต์ตกใจ  จึงต้องเลือกใช้มอเตอร์ที่มีคุณสมบัติดังกล่าว ซึ่งมอเตอร์แบบแรงปิดสม่ำเสมอ(Torque Motor) คุณสมบัติตามต้องการเครื่องกั้นรถยนต์ ควบคุมรถเข้าออกจึงใช้ Torque Motor ทั้งสิ้น สำหรับประเทศไทยใช้ Torque Motor ขนาด 220V 50Hz 1PH ถ้าแขนยาวมากกว่า 6 เมตรต้องใช้มอเตอร์กำลังมากขึ้นกว่า 120-150W ทั้งยังมีตัวป้องกันไม่ให้ไม้กั้นรถยนต์ลงมา 2 แบบ คือ

     โฟโต้สวิทช์ ลูปดีเทคเตอร์  ซึ่งใส่ไว้ที่บน เสาโลหะรูปทรงกระบอก ยาว 50 ซ.ม. 2 อัน ติดตั้งบนพื้นถนน 2 ข้าง ติดกับ แขนกั้นรถยนต์ โฟโต้สวิทช์ ตัวหนึ่งเป็นตัว ส่งลำแสงไปยังตัวรับแสง ถ้ามีรถผ่านไม้กั้นรถ ตัวรถก็จะบังลำแสงจากตัวส่งลำแสงไม่สามารถผ่านรถไปถึงตัวรับ ตัวรับก็ส่งสัญญาณตามสายไฟไปยัง ตัวคอนโทรลของตัวเครื่องแขนกั้นรถยนต์ ไม่ให้ปล่อยไม้กั้นลงมา นับเป็นระบบเซฟตี้ชิ้นแรก

     ลูปดีเทคเตอร์ (Loop Detector)   อุปกรณ์ที่ใช้หลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กมาตรวจจับโลหะโดยทำงานร่วมกับสายลูป สายลูปคือ สายไฟฟ้าที่ถูกฝัง และกลบ ในพื้นถนนลึกประมาณ 3 – 5 ซ.ม. สายลูปจะขดเป็นรูป แปดเหลี่ยม คร่อมบริเวณไม้กั้นรถโดยมีความกว้างเกือบเท่าตัวรถ (ตามรูป) ปลายสาย 2 ข้าง ของขดลวดลูปต่อเข้ากับ ตัวคอนโทรลที่อยู่ในตู้ยกไม้กั้นรถกระแสไฟฟ้า จะถูกปล่อยจากตัวคอนโทรล มายังขดลวดลูปที่ขดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่งผลให้เกิดสนามแม่เหล็กปริมาณมากบนพื้นที่ สี่เหลี่ยมลูป เหนือถนนกว่า 2 ฟุต ดังนั้นเมื่อมีรถยนต์ ซึ่งมีตัวรถเป็นเหล็กอยู่บนสายลูปดังกล่าว กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน ตัวลูปดีเทคเตอร์ จะมีปริมาณมากขึ้น ระบบอีเลคโทรนิคส์ ของลูป (อุปกรณ์หมายเลข 6 ในรูปอุปกรณ์ในตู้ตัวถังไม้กั้นรถ) จะตรวจจับพบการเปลี่ยนแปลงของประแสไฟฟ้าที่มากขึ้นและสั่งให้ไม้กั้นรถไม่ยกลงมา นับเป็นเซฟตี้ชั่นที่ 2 เมื่อรถยนต์ผ่านสี่เหลี่ยมลูปไป กระแสไฟฟ้าในลูปจะลดลงมาเท่าเดิม วงจรหน่วงเวลาจะหน่วงไม่ให้ไม้กั้นรถลงมาก่อน 3 วินาที

ป้องกันด้วยการตรวจจับ

  • ตำแหน่งรถด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Loop Detector) ระบบนี้ใช้ขดลวดสายไฟฟ้า(Loop Wire)ลงไปในถนนตรงที่รถยนต์ควรจะจอดอยู่ตอนแขนไม้กั้นยังไม่ยกขึ้น โดยความกว้าง ยาว ของลูป พันรอบกันหลายๆรอบนั้นมีขนาดพอๆกับขนาดรถยนต์ ดังนั้นถ้าแขนกั้นถูกยกขึ้นและสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากลูปเจอกับโลหะของตัวถังรถยนต์ แสดงว่า Loop Detector ตรวจจับเจอรถยนต์ ตัวควบคุมแขนไม้กั้นก็จะสั่งให้ไม้กั้นขึ้นไปอยู่ตำเหน่งสูงสุดเสมอจนรถยนต์แล่นผ่านไปจึงจะสั่งให้ไม้กั้นลงมา

ขนาดแขนกั้นรถยนต์

  • ตัวไม้กั้นรถยนต์เอง ถ้ารถยนต์ไม่ระมัดระวัง ก็จะชนไม้กั้นหักเสียหาย ซึ่งลูกค้าสามารถสั่งซื้อตัวแขนยึดติดกับไม้กั้น แบบดีดออกได้ เมื่อถูกชน ทำให้ไม้กั้นไม่เสียหาย

ตัวแขนยึดติด ไม้กั้นรถยนต์

  • มอเตอร์ (Motor) มอเตอร์ไฟฟ้า คือตัวกำเนิดแรงบิดที่ถูกส่งไปยกแขนกั้นขึ้นจึงมีความสำคัญมากเนื่องจากการยกแขนกั้น ต้องยกขึ้นลงด้วยความนุ่มนวล แขนจะมีความเร็วเกือบสม่ำเสมอ ตอนลงต่ำสุด เซนเซอร์จะตัดไฟไฟเข้ามอเตอร์อย่างนุ่มนวลทำให้ไม้กั้น ไม่กระตุกสะท้อนขึ้นลงทำให้เจ้าของรถยนต์ตกใจกลัว จึงต้องเลือกใช้มอเตอร์ที่มีคุณสมบัติดังกล่าว ซึ่งเป็นมอเตอร์แบบแรงปิดสม่ำเสมอ (Torque Motor) มีคุณสมบัติตามต้องการเครื่องกั้นรถยนต์ ควบคุมรถเข้าออกจึงควรใช้ Torque Motor ทั้งสิ้น สำหรับประเทศไทยควรใช้ Torque Motor ขนาด 220V 50Hz 1PH เหมาะสมกับระบบไฟฟ้าของประเทศไทย

 ตัวแผ่นเหล็กป้องกันลดแรง กระแทกรถยนต์ (Anti Collision Protector)

  • ในระบบการป้องกัน ลดแรงกระแทก โดยไม้กั้นตอนลงมาจะพาดอยู่บนแผ่นเหล็กที่ถูกดึงด้วยแรงสปริง พยายามต้านแรงมอเตอร์ที่หมุนพาไม้กั้นลงมา ถ้าไม้กันลงมากระแทกรถยนต์แบบไม่แรงโดยที่ตำแหน่งไม้กั้นยังไม่ถึงจุดต่ำสุด แรงที่มอเตอร์หมุนพาไม้กั้นจะเพิ่มขึ้นอย่างมากตัวเซนต์เซอร์จะสั่งให้ระบบไฟฟ้าจ่ายไฟให้มอเตอร์หมุนกลับ(Reverse TorQue Controller)ไปอยู่ตำแหน่งบนสุด

ระบบควบคุมลานจอดรถยนต์ มีหลายแบบด้วยกัน

  • เครื่องทาบบัตรพนักงาน หรือจ่ายสลิปบันทึกเวลาเข้าที่จอดรถยนต์   คนขับรถยนต์จะเปิดกระจกเอาบัตรพนักงานมาทาบกับเครื่องอ่านที่ติดตั้งไว้บริเวณข้างรถยนต์ ที่จอดไกล้กับแขนกั้นรถยนต์แขนก็จะยกขึ้น บัตรประจำตัวพนักงานก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ซึ่งนำไปใช้เลี้ยงวงจรไฟฟ้าภานในบัตรเพื่อนำข้อมูลที่เก็บไว้ในตัว memory ของบัตร ส่งออกมาทางคลื่นวิทยุ เข้าหัวอ่านอีกที เรียกบัตรที่ไม่มีแบตเตอรี่ในตัวอ่านระบบ Passive RFID ซึ่งต้องนำไปใกล้หัวอ่านบัตร (RFID มาจาก Radio Frequency Identification Deuiee)
  • เครื่องจ่ายบัตร หรือเครื่องจ่ายสลิปกระดาษ ใช้สำหรับลานจอดรถยนต์เพื่อบันทึกเวลารถเข้ามาที่จอด โดยที่เครื่องแขนกั้นรถยนต์จะมีตู้สำหรับกดปุ่มให้เครื่องจ่ายบัตร หรือสลิป และเมื่อรถออกจากโรงจอดเมื่อคิดค่าจอดเสร็จแล้วจึงยกแขนกั้นให้รถผ่านออกไปได้
  • เครื่องจ่ายตั๋วอัตโนมัติ ระบบจ่ายเงินค่าทางด่วนอัตโนมัติ (Easy Pass) หัวอ่านบัตรที่ติดหน้ารถยนต์ (ระบบ Active RFID) เมื่อบัตรแบบแบตเตอร์รี่ในตัว (Active RFID) ส่งคลื่นย้อนกลับไปที่หัวอ่านบัตรที่ติดตัวอยู่บนป้อมยาม แขนกั้นรถยนต์ก็จะยกขึ้นเมื่อรถยนต์ที่ติดบัตรเข้ามาใกล้5-30เมตร ระบบ Easy Pass ของประเทศไทยเป็น ระบบ Active RFID สะดวกกว่ามากแต่ราคาแพงกว่าระบบอ่านบัตรของPassive RFID ในประเทศอังกฤษและสิงค์โปร ระบบ Active RFID หรือ Easy Pass ได้รับการพัฒนาไปไกลมากเพราะความไวในการตรวจจับเร็วมากจนถึงขนาดรถยนต์ไม่ต้องจอดที่ด่านจ่ายเงินเลย รถวิ่งด้วยความเร็วปกติ ไม่มีรถติดที่ด่านเก็บเงิน และระบบนี้ยังถูกนำไปใช้ทั่วไป เช่น ตัดยอดเงินเมื่อไปจอดรถในลานจอดรถ ใช้จ่ายเงินดูภาพยนตร์โดยตัดเงินจากบัตร

ส่วนประกอบแขนกั้นรถยนต์ ส่วนประกอบแขนกั้นรถยนต์