โฟโต้สวิทช์ (Infrared Photo switch)

     โฟโต้สวิทช์ เป็นส่วนหนึ่งของ แขนกั้นรถยนต์ ทุกรุ่น ที่ทำหน้าที่ประสานงานกับลูปดีเทคเตอร์ ที่ควบคุมแขนกั้นให้ยกขึ้นลง    โฟโต้สวิทช์  มีการติดตั้งไว้ที่บน เสาโลหะรูปทรงกระบอก สูง 50 ซ.ม. 2 อัน ติดตั้งบนพื้นถนน 2 ข้าง ติดกับ แขนกั้นรถยนต์ โฟโต้สวิทช์ ตัวหนึ่งเป็นตัว ส่งลำแสงไปยังอีกตัวทำหน้าที่เป็นตัวรับลำแสง ถ้ามีรถผ่านแขนกั้นรถยนต์ ตัวรถก็จะบังลำแสงจากตัวส่งที่อยู่อีกฟากของตัวรับ ทำให้ลำแสง ไม่ผ่านไปถึงตัวรับ ตัวรับก็ส่งสัญญาณไปยัง ตัวคอนโทรลของแขนกั้นรถ ไม่ให้ปล่อยไม้กั้นรถลงมา

โฟโต้สวิทช์ Photo-Switch กับ แขนกั้นรถยนต์

โดยอันที่จริงแล้ว โฟโต้สวิทช์ เป็นอุปกรณ์ตรวจจับด้วยแสง หรือการควบคุมแสงที่ใช้ในกระบวนการผลิตอัตโนมัติต่างๆ  มีการทำงานตรวจจับแสงที่มองเห็นหรือแสงที่มองไม่เห็น และตอบสนองการทำงานตามการเปลี่ยนแปลงความเข้มของแสงที่ได้รับ เช่น เซ็นเซอร์ที่ใช้ในการตรวจจับสิ่งของ โดยอาศัยแสงที่มองเห็น หรือมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า (Infrared)  สำหรับโฟโต้สวิตช์ประเภทสะท้อนวัตถุ (Diffuse Reflective) ความสามารถในการสะท้อนแสงของวัตถุมีผลต่อระยะตรวจจับของโฟโต้สวิตช์   โดยขึ้นอยู่กับสี และลักษณะความเรียบและความมันวาวของวัตถุที่ถูกตรวจจับ การคำนวณระยะตรวจจับที่แท้จริงของโฟโต้สวิตช์ต้องมีข้อมูล 2 ส่วนคือ

  • ระยะตรวจจับตามปกติ (Nominal Range) ของโฟโต้สวิตช์ ซึ่งทดสอบกับกระดาษสีขาวมาตรฐาน
  • ค่าสัมประสิทธิ์ การแก้ไข (Correction factor) ซึ่งขึ้นอยู่กับสีและลักษณธที่เป็นอยู่ของวัตถุที่ตัวการตรวจจับ

หลักการทำงานคือ เมื่อใดก็ตามหากมีวัตถุมากีดขวางลำแสง ทำให้แสงไม่สามารถส่งถึง Sensor รับแสงได้ ระบบควบคุม Sensor จะรับรู้ว่ารถยนต์เคลื่อนตัวมาอยู่ใต้ไม้กั้น ดังนั้น เครื่องควบคุมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จะส่งผลให้มอเตอร์ไม่หมุนไม้กั้นลงมาปิดทาง ทำให้ไม่มีการกระแทกเกิดขึ้น

องค์ประกอบของ โฟโต้สวิทช์

ภาคส่งแสง (Emitter หรือ Transmitter)

  • Pulse modulator คือวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างพัลส์ ซึ่งความถี่ของพัลส์นี้ จะเป็นความถี่ของแสงที่จะถูกส่งออกไป
  • Amplifier ทำหน้าที่ขยายสัญญาณพัลส์ให้มีโวลต์เตจสูงขึ้น
  • Opto-diode ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าที่ได้ให้เป็นแสง ซึ่งมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ แสงอินฟราเรด และแสงที่มนุษย์มองเห็น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแสงสีแดง รองลงมาคือแสงสีเขียว
  • เลนส์ (Lense) ทำหน้าที่รวมแสงแล้วส่งออกไป

ภาครับแสง (Reciever)

  • Pre-Amplifier ทำหน้าที่ขยายโวลต์เตจที่รับมาจาก Photo Transister ให้สูงขึ้น
  • Synchronizer ทำหน้าที่เปรียบเทียบความถี่ของแสงที่รับมาจาก Pulse Modulator ว่าตรงกันหรือไม่ หากตรงกันก็จะส่งเอาท์พุตออกไป ซึ่งวงจรเหล่านี้จะช่วยป้องกันแสงรบกวนจากแสงภายนอกทั้งจากแสงแดดและหลอดไฟในห้องทำงาน เพราะความถี่ของแสงที่รบกวนจะไม่ตรงกับความถี่ที่ส่งมาจากภาคส่งแสงทำให้สามารถแยกความแตกต่างได้
  • Photo transistor ทำหน้าที่แปลงแสงที่รับเข้ามาให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าออกมาเป็นมิลลิโวลต์
  • เลนส์ (Lense) ทำหน้าที่รวมแสงที่เข้ามา
  • Sensitivity Adjustment เป็นตัวความต้านทานที่ปรับค่าได้ เพื่อกำหนดปริมาณแสงที่ได้รับมาว่าปริมาณเท่าใดจึงจะให้เอาท์พุตทำงาน โดยจะเป็นการปรับค่าโวลต์เตจ เพื่อจะให้วงจรถัดไปคือ Trigger ทำการ ON หรือ OFF
  • Trigger คือวงจรที่จะสั่งให้ทำการ ON หรือ OFF จะมีค่า ฮีสเตอร์รีซิส (Hysteresis) เพื่อป้องกันไม่ให้เอาท์พุตทำงานบ่อยเกินไป
  • Amplifier ทำหน้าที่ขยายสัญญาณให้มีโวลต์เตจสูงขึ้น เพื่อสั่งให้เอาท์พุตทรานซิสเตอร์เปลี่ยนสภาวะ

Photo-Switch

โฟโต้สวิตช์แต่ละชนิด

โฟโต้สวิตช์แบบทรงกระบอก Round Photo Switch

  • โฟโต้สวิตช์แบบทรงกระบอก Round Photo Switch เป็นสวิตช์ตรวจจับการปรากฎขึ้นของวัตถุโดยอาศัยหลักการ การส่งและรับแสง สามารถนำไปใช้ในงานอุตสาหกรรมได้ทุกประเภท เช่น ตรวจดูว่าแก้พลาสติกคว่ำหรือหงาย, ใช้ในการกันประตูลิฟต์หนีบ, งานล้างรถหรือล้างขวด ลอกป้ายฉลาก, ตรวจนับห่อสินค้า, ตรวจนับวัตถุที่ถูกมีการเคลื่อนไหวโดยรอก, ตรวจดูสินค้าว่ามีจุกฝาปิดทุกขวดหรือเช็ค ฝากล่องปิดทุกกล่องหรือไม่, กำหนดรถยนต์อยู่ตรงตำแหน่งที่จะพ่นสี เป็นต้น

คุณลักษณะ

  • เป็นสวิตช์ตรวจจับการปรากฏขึ้นของวัตถุโดยอาศัยหลักการ การส่งและรับแสง สามารถนำไปใช้ในงานอุตสาหกรรมได้ทุกประเภท เช่น ตรวจนับวัตถุที่ถูกมีการเคลื่อนไหวโดยรอก, ใช้ในการกันประตูลิฟท์หนีบ, งานล้างรถหรือล้างขวด ลอกป้ายฉลาก, ตรวจนับห่อสินค้า, กำหนดรถยนต์อยู่ตรงตำแหน่งที่จะพ่นสี, ตรวจดูสินค้าว่ามีจุกฝาปิดทุกขวดหรือเช็ค ฝากล่องปิดทุกกล่องหรือไม่, ตรวจดูว่าแก้พลาสติกคว่ำหรือหงาย เป็นต้น มีตัวเรือนเป็นโลหะ หรือ พลาสติก ตัวเรือนขนาด 18 มม. ระยะการตรวจจับ

Photo-Switch

โฟโต้สวิตช์แบบก้ามปู U Type Photo Switch

  • โฟโต้สวิตช์แบบก้ามปู U Type Photo Switch เป็นสวิตช์ตรวจจับการปรากฎขึ้นของวัตถุโดยอาศัยหลักการ การส่งและรับแสง ออกแบบมีเป็นรูปทรงแบบก้ามปู หรือตัวยู เหมาะสำหรับใช้ในงานตรวจจับวัตถุชิ้นเล็กๆ ชิ้นงานแบบแผ่นต่อเนื่อง ที่ขายของอัตโนมัติ นับจำนวนชิ้นงานที่ผลิต, ตรวจจับกระดาษ, ตรวจจับฟันเฟือง, การตรวจจับแบบตัวรับ-ส่ง Through-Beam

คุณลักษณะ

  • เป็นสวิตช์ตรวจจับการปรากฎขึ้นของวัตถุโดยอาศัยหลักการ การส่งและรับแสง ออกแบบมีเป็นรูปทรงแบบตัวยู หรือ แบบก้ามปู เหมาะสำหรับใช้ในงานตรวจจับฟันเฟือง, ตรวจจับกระดาษ, ตรวจจับวัตถุชิ้นเล็กๆ เป็นต้น ง่ายสำหรับการติดตั้ง  ออกแบบมีเป็นรูปทรงแบบตัวยู หรือ แบบก้ามปู  เหมาะสำหรับใช้ในงานตรวจจับฟันเฟือง, ตรวจจับกระดาษ, ตรวจจับวัตถุชิ้นเล็กๆ เป็นต้น ง่ายสำหรับการติดตั้ง มีการตรวจจับแบบตัวรับ-ส่ง Through-Beam

รุ่น BUP-30 ระยะตรวจจับ 30 มม.

รุ่น BUP-50 ระยะตรวจจับ 50 มม

Photo-Switch

โฟโต้สวิตช์แบบทรงสี่เหลี่ยม Square Photo Switch

  • โฟโต้สวิตช์แบบทรงสี่เหลี่ยม Square Photo Switch เป็นสวิตช์ตรวจจับการปรากฎขึ้นของวัตถุโดยอาศัยหลักการ การส่งและรับแสง โฟโต้เซ็นเซอร์ทรงสี่เหลี่ยม มีระยะการตรวจจับไกล กว่าโฟโต้สวิตช์รุ่นทั่วไป เป็นสินค้าคุณภาพนำเข้าจากยุโรป ติดตั้งง่าย ขนาดกระทัดรัด เหมาะสำหรับติดตั้งในพื้นที่จำกัด การประยุกต์ใช้งาน เช่น ตรวจนับห่อสินค้า, ตรวจนับวัตถุที่ถูกมีการเคลื่อนไหวโดยรอก, งานล้างรถหรือล้างขวด ลอกป้ายฉลาก, ตรวจดูว่าแก้พลาสติกคว่ำหรือหงาย, ใช้ในการกันประตูลิฟท์หนีบ, กำหนดรถยนต์อยู่ตรงตำแหน่งที่จะพ่นสี, ตรวจดูสินค้าว่ามีจุกฝาปิดทุกขวดหรือเช็ค ฝากล่องปิดทุกกล่องหรือไม่ เป็นต้น

โฟโต้สวิตช์ แบบทรงสี่เหลี่ยมรุ่น BJ

  • ขนาดกระทัดรัด W20 × H32 × L10.6 mm.
  • ลำตัวทรงสี่เหลี่ยม
  • เลนส์มีประสิทธิภาพสูง
  • ได้รับมาตรฐาน IP 65

โฟโต้สวิตช์ แบบทรงสี่เหลี่ยมรุ่น BS

  • ลำตัวทรงสี่เหลี่ยม
  • ระยะตรวจจับ 5 มม.
  • การตรวจจับแบบ Through–Beam
  • ไฟเลี้ยง 5-24 VDC
  • โฟโต้สวิตช์ แบบทรงสี่เหลี่ยม Square Photo Switch รุ่น BY

โฟโต้สวิตช์ แบบทรงสี่เหลี่ยมรุ่น BY

  • ตัวเรือนทรงสี่เหลี่ยม ขนาด 12 x 16 x 30 mm.
  • ระยะการตรวจจับ 500 เมตร
  • การตรวจจับแบบแยกตัวรับตัวส่ง (Through-Beam)
  • ไฟเลี้ยง 12-24 VDC

โฟโต้สวิตช์ แบบทรงสี่เหลี่ยมรุ่น BYS

  • ตัวเรือนทรงสี่เหลี่ยม ขนาด 12 x 16 x 30 mm.
  • ระยะการตรวจจับ 500 เมตร
  • การตรวจจับแบบแยกตัวรับตัวส่ง (Through-Beam)
  • ไฟเลี้ยง 12-24 VDC

โฟโต้สวิตช์ แบบทรงสี่เหลี่ยมรุ่น BMS

  • ตัวเรือนทรงสี่เหลี่ยม ขนาด 16 x 55 x 28 mm.
  • ระยะการตรวจจับ 5 เมตร
  • การตรวจจับแบบแยกตัวรับตัวส่ง (Through-Beam)
  • ไฟเลี้ยง 12-24 VDC

โฟโต้สวิทช์ Photo-Switch กับ แขนกั้นรถยนต์

ไฟเบอร์ออฟติก Fiber Optic

  • ไฟเบอร์ออฟติก Fiber Optic เป็นโฟโต้สวิตช์แบบใช้ใยแก้วนำแสง เหมาะสำหรับงานที่มีพื้นที่จำกัด สามารถตรวจจับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ วัตถุที่มีขนาดเล็ก และติดตั้งในพื้นที่แคบได้เป็นอย่างดี สามารถตรวจจับวัตถุได้ทั้งแบบสะท้อนวัตถุ แบบแยกตัวรับ-ตัวส่ง ให้ความแม่นยำในการตรวจจับวัตถุสูงมาก ถึง 12 บิต การตั้งค่าการใช้งานง่ายด้วย Easy Touch มีฟังก์ชั่นตรวจสอบตัวเอง และมีการป้องกันแสงรบกวนกันเอง

ไฟเบอร์ออฟติก Fiber Optic รุ่น BF

  • ขนาดตัวเครื่อง 12 x 32.8 x 66 mm.
  • เป็นโฟโต้สวิตช์แบบใช้ใยแก้วนำแสง
  • เวลาการตอบสนอง : 0.5ms
  • แหล่งกำเนิดแสง LED สีแดง และ สีเขียว

ไฟเบอร์ออฟติก Fiber Opticรุ่น FD, FT

  • เป็นสายเซนเซอร์ไฟเบอร์ออฟติก
  • FTR : แบบลำแสงตรง Through-Beam Type
  • FDR : แบบ ลำแสงสะท้อนกลับ Diffuse-Reflective Type
  • การป้องกัน IP67

ไฟเบอร์ออฟติก Fiber Optic รุ่น BF3

  • เป็นโฟโต้สวิตช์แบบใช้ใยแก้วนำแสง
  • การป้องกันการลัดวงจร, การต่อกลับขั้ว
  • การติดตั้งแบบใช้ DIN Rail Mounting Type
  • การป้องกันการลัดวงจร, การต่อกลับขั้ว