บัตรสมาร์ทการ์ด (Proximity Card) คือ  บัตรที่สามารถอ่านในระยะใกล้  โดยแผ่นชิบขดลวดฝั่งด้านในของบัตร  โดยที่บัตรนั้นไม่มีแถบแม่เหล็กเหมือนรุ่นก่อน เช่น บัตรเครดิตรุ่นเก่า  ระบบทาบบัตรระยะใกล้เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีบัตรทาบแบบสัมผัส โดยมีระยะระหว่าง 0-90cm ขึ้นอยู่เครี่องอ่านอิเล็คทรอนิคนั้น สามารถรับสัญญาณได้มากน้อยเพียงใด

โดยภายในบัตรมีตัวเลขอ้างอิง ด้านในเปรียบตามท้องตลาดทั่วไป บัตรอาร์เอฟไอดี (RFID Card) คลื่นต่ำนี้ อาจเรียกว่า บัตร Proximity หรือบางคนเรียกว่า บัตร Prox. เป็นบัตรอ่านคลื่นระยะใกล้ ใช้งานง่าย ส่วนมากมักจะอ่านและนำตัวเลขที่อยู่ด้านในมากใช้เชื่อมกับฐานข้อมูลเท่านั้น เพราะเป็นบัตรที่ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ ยกเว้นประเภทบัตรที่เรียกว่า บัตร Termic Card ซึ่งเป็นบัตรคลื่นต่ำที่สามารถอ่านและเขียนไปได้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในสินค้า Termic card)

บัตรสมาร์ทการ์ด กับ ไม้กั้นรถ

อุปกรณ์ที่มีไว้สำหรับจำกัดสิทธิ์

เหมือนเลขบัตรประจำตัว โดยเมื่อทาบบัตร  เครื่องอ่านบัตรจะมีเสียงเตือน เพื่อให้ทราบว่าเครื่องอ่านบัตรนั้น อ่านบัตรแล้ว จะทำหน้าที่สั่งการ  ไปยังระบบเพื่อเปิดประตู หรืออนุญาตสิทธิให้ผ่านเข้าในพื้นที่นั้นได้    โดยบัตรมีความบาง2ขนาด คือ 1.ขนาด 0.8มม.จะมีขนาดเท่ากับบัตรประชาชน สามารถเก็บใส่กระเป๋าสตางค์ได้สะดวก ข้อดี สวยงามกะทัดรัด พกพาสะดวก นิยมใช้กันส่วนใหญ่ ตามคอนโดมิเนียม ข้อเสียคือ ระยะสัญญาณอ่อน  และอีกขนาดคือ 2.ขนาด 1.8มม. โดยบัตรสามารถรองรับการอ่านบัตรระยะไกลได้ดี เหมาะสำหรับใช้กับบัตรจอดรถ เพื่อผ่านระบบ ไม้กั้นรถ ขึ้นสู่อาคาร

ข้อดีคือ สามารถใช้กับเครื่องทาบบัตรระยะ 90cm ได้ ไม่ต้องเอื้อม มือทาบบัตรจนก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ข้อเสียคือ รูปล่างไม่สวยงาม พกพาไม่สะดวก ขึ้นอยู่กับการใช้งานของลูกค้าหรือสมาชิก

 

ประเภทของบัตรสมาร์ทการ์ด(Smart Card)

บัตรสมาร์ทการ์ดแบบสัมผัส(contact smart card)

บัตรสมาร์ทการ์ดแบบสัมผัส(contact smart card) ตัวบัตรมีการฝังชิปใต้หน้าสัมผัสที่เป็นแผ่นโลหะสีทองขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งนิ้วไว้ที่ด้านหน้าของบัตร ตอนใช้งานต้องสอดบัตรเข้าในเครื่องอ่านบัตรสมาร์ทการ์ดให้หน้าสัมผัสของบัตรได้แตะกับหน้าสัมผัสภายในเครื่องอ่านบัตรสมาร์ทการ์ด จากนั้นก็จะมีการถ่ายโอนข้อมูลเข้า-ออกระหว่างชิปกับเครื่องอ่านบัตรสมาร์ทการ์ด โดยส่วนใหญ่จะเป็นกับบัตรเครดิตหรือบัตรเอทีเอ็ม ปัจจุบันประเทศไทยได้ใช้บัตรสมาร์ทการ์ดชนิดนี้ทำบัตรประจำตัวประชาชนหรือซิมการ์ดของโทรศัพท์มือถือ ปัจจุบันมีการทำบัตรเครดิตที่เป็นบัตรสมาร์ทการ์ดแบบสัมผัสด้วยเป็นบัตรวีซ่า pay wave เช่น บัตรบลูการ์ด เป็นต้น

บัตรสมาร์ทการ์ดแบบไร้สัมผัส(contactless smart card)

บัตรสมาร์ทการ์ดแบบไร้สัมผัส(contactless smart card) ตัวบัตรจะมีการฝังชิปและขดลวดสายอากาศเอาไว้ภายในซึ่งอาจมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น สามารถติดต่อกับเครื่องอ่านบัตรที่รับส่งสัญญาณผ่านคลื่นวิทยุได้ในระยะที่กำหนด ซึ่งอาจเป็นระยะที่ใกล้ชิด(proximity card) หรือระยะที่ใกล้เคียง(vicinity card) แล้วแต่มาตรฐานของบัตร ซึ่งใช้ในการติดต่อกับเครื่องรับ-เครื่องส่งที่อยู่ในระยะไกล (Remote Receiver/Transmitter) โดยไม่จำเป็นต้องให้บัตรสัมผัสกับเครื่องอ่านดังกล่าว ส่วนใหญ่จะใช้กับบัตรเก็บเงินทางด่วน บัตรโดยสารของรถไฟฟ้า บีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดิน และบัตรชำระเงินย่อยเช่นบัตร Smart Purse เป็นต้น

บัตรสมาร์ทการ์ดกับไม้กั้นรถ

วัสดุที่ใช้ผลิตบัตรสมาร์ทการ์ด

พลาสติกที่นำมาใช้ผลิตบัตรสมาร์ทการ์ดมีอยู่หลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันมาก คือ พีวีซี (PVC-Polyvinyl Chloride) และเอบีเอส (ABS-Acrylonitrile Butadiene Styrene) อย่างไรก็ดี การใช้พีวีซีมีข้อดี คือ  สามารถพิมพ์ลายนูนได้ แต่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ส่วนเอบีเอสไม่สามารถพิมพ์นูนได้ แต่นำกลับมาใช้งานใหม่ได้ ขนาดของบัตรพลาสติกถูกกำหนดโดยมาตรฐานระหว่างประเทศ ISO 7810 ซึ่งได้กำหนดถึงคุณลักษณะทางกายภาพของพลาสติก ที่นำมาใช้ทำบัตรด้วย เช่น ความคลาดเคลื่อนของอุณหภูมิ ความยืดหยุ่นในการใช้งาน ตำแหน่งของหน้าสัมผัสทางไฟฟ้า เป็นต้น

รูปแบบการทำงานบัตรสมาร์ทการ์ดกับไม้กั้นรถ

เมื่อรถเคลื่อนเข้ามาบริเวณแขนกั้นรถ เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้แจก และรับบัตรให้กับผู้เข้าใช้บริการ (หรือใช้ตู้รับแจกบัตรอัตโนมัติก็ได้) พร้อมบันทึกเลขทะเบียนรถยนต์ร่วมกับภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด(สามารถใช้ซอฟต์แวร์แปลงภาพจากกล้องวงจรปิดเป็นตัวอักษร และเลขทะเบียนให้อัตโนมัติ ทำให้ไม่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ที่ทางเข้า) หากเป็นรถที่มีบัตรผ่านถูกต้องแขนกั้น(Barrier)จะเปิดให้ผ่านและนับรถเพื่อนำไปคำนวณที่จอด เมื่อผู้ใช้บริการคืนบัตรเพื่อคิดและชำระเงิน กล้องจะบันทึกภาพและแสดงเปรียบเทียบกับภาพเมื่อผ่านช่องทางเข้าให้เจ้าหน้าที่ทราบบนจอภาพ ก่อนรับชำระเงินพิมพ์ใบกำกับภาษีอย่างย่อและเปิดแขนกั้น(Barrier) ให้ผ่านออกไป เมื่อรถผ่านอุปกรณ์ตรวจจับ(Loop Detector or Sensor) ที่ช่องทางออกแล้วแขนกั้นจะปิดลงเองโดยอัตโนมัติ