เครื่องกดแจ้งเหตุฉุกเฉิน รุ่น SOS-ZD60 เป็นรุ่นที่ได้มีการพัฒนาขึ้นมาให้มีความทันสมัย และรองรับการทำงานในรูปแบบการสื่อสารแบบเห็นหน้าผ่านกล้องที่มีโซลูชั่นที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังออกมาเพื่อรองรับการใช้งานสำหรับผู้พิการทางสายตา และผู้พิการทางการได้ยินอีกด้วย
สินค้า เครื่องกดแจ้งเหตุฉุกเฉิน รุ่น SOS-ZD60
ปุ่มกดแจ้งเหตุฉุกเฉิน รุ่น SOS-ZD60 มีดีไซต์ที่ทันสมัยมากขึ้น และมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้มากขึ้น เพื่อให้ครอบคลุมการใช้งานในทุกรูปแบบ ทั้งการเรียกแจ้งเหตุก็มีฟังก์ชั่นให้เลือกใช้งาน ปุ่มกดเรียกฉุกเฉินรุ่นนี้ จะมีการใส่กล้องเข้าไปในตัวเครื่องด้วย เพื่อเพิ่มเป็นฟังก์ชั่นในการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ทางห้องควบคุมแบบเห็นหน้า ทำให้สื่อสารกันได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
เครื่องรุ่นนี้จะนิยมติดตั้งใช้งานในหลากหลายพื้นที่ ส่วนใหญ่จะเห็นได้ทที่ทางรถไฟฟ้า หรือจะเป็นแอร์พอตลิ้ง เพื่อให้ผู้มาใช้บริการสามารถกดเรียก หรือกดแจ้งเหตุฉุกเฉินได้ทันท่วงที และยังสามารถติดต่อสอบถามในเรื่องที่ต้องการความช่วยเหลือกับเจ้าหน้าที่ได้อีกด้วย
ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน รุ่น SOS-ZD60 สามารถพูดคุยได้ในระยะที่ห่างถึง 80 เซนติเมตร นอกจากนี้ตัวเครื่องจะมีอักษรเบรลล์กำกับอยู่ด้วย เพื่อให้ผู้พิการทางการมองเห็นได้รู้ว่าปุ่มสำหรับกดเรียกนั้นอยู่ที่ส่วนใด
ข้อมูลทางเทคนิคของ : ปุ่มกดแจ้งเหตุฉุกเฉิน รุ่น SOS-ZD60 (SOS Call Point : SOS-ZD60)
ขนาดของตัวอุปกรณ์ | 430*260*70 มิลลิเมตร |
ขนาดหน้าจอแสดงผล | 7 นิ้ว 1024 x 600 pixels สามารถปรับมุมได้ |
Sensor Camera | 5 ล้านพิกเซล 2xLAN, PoE, USB |
ปุ่มการกดโทร หรือ Call | มี 2 ฟังก์ชั่น |
ระดับการกันน้ำ | IP65 |
ลำโพง | 8 ohm 1.5W |
ระดับความดัง | 85dB(A) to 65dB(A) |
การทำงานของไมค์ | รองรับได้ในระยะ 80 เซนติเมตร |
แรงดันไฟฟ้า | 12v DC |
Microphone sensitivity | 66Dbm to -2dbm Bandwidth 50Hz to 20Khz |
กระแสไฟออก | 0.8ARMS @1KHZ 3.0apeak |
โครงสร้างของอุปกรณ์มีดังนี้
- TFT Display หรือ จอแสดงผล สำหรับแสดงผลมากจากห้องควบคุม มีขนาด 7 นิ้ว
- Speraker หรือ ลำโพง สำหรับส่งเสียงของคู่สนทนาจากห้องควบคุม และเสียงการรอสาย เพื่อให้ผู้กดเรียกได้ยิน
- ปุ่มกดเรียก มี 2 ฟังกชั่น คือ Speed Dial และ Hotline Dial ซึ่งเป็นการกดเพื่อเรียกสายแบบเร่งด่วน
- Microphone หรือ ไมโครโฟน สำหรับการสนทนาการห้องปฏิบัติ ซึ่งเราได้แจ้งก่อนหน้านี้แล้วว่า เราสามารถอยู่ห่างจากอุปกรณ์หรือไมค์ได้ถึง 80 เซนติเมตร ไม่จำเป็นต้องไปจอปากติดไมค์ก็สามารถรับเสียงได้
- Camera หรือ กล้อง สำหรับให้ทางห้องควบคุมเห็นหน้าคู่สนทนา หรือเป็นแบบ Video Call นั่นเอง ฟังก์ชั่นนี้มีไว้สำหรับผู้พิการทางการได้ยินด้วย เพื่อให้สามารถใช้ภาษามือสื่อสารกับทางเจ้าหน้าที่ได้นั่นเอง
- Induction Loop หรือ ลูปเหนี่ยวนำความถี่เสียง เป็นฟังก์ชั่นที่ช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาทางการได้ยิน หรือผู้ที่ใช้เครื่องช่วยฟังได้ยินเสียงของเจ้าหน้าที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
- Braille word หรือ อักษรเบรลล์ มีไว้สำหรับผู้พิการทางสายตา เพื่อให้ได้รู้ว่าปุ่มหรือบริเวณที่สัมผัสนั้นคืออะไร
ข้อมูลทางเทคนิคของกล้อง ในอุปกรณ์ปุ่มกดเรียกแจ้งเหตุฉุกเฉิน รุ่น SOS-ZD60 (SOS Call Point : SOS-ZD60)
Array size | 2592 x 1944 มิลลิเมตร |
ขนาดของเลนส์ | 1/4″ |
Input clock frequency | 6~27 MHz |
Lens chief ray angle | 24 |
Pixel size | 1.4 um X 1.4 um |
Dark Current | 8 mV/s @ 60ºC junction temperature |
Image area | 3673.6 um X 2738.4 um |
Viewing angle | 187° |
ภาพตัวอย่างการติดตั้งใช้งานปุ่มเรียกเหตุฉุกเฉิน รุ่น SOS-ZD60
อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า อุปกรณ์รุ่น SOS-ZD60 นี้ นิยมใช้กันเป็นอย่างมากในกลุ่มของสถานที่รถไฟฟ้าต่างๆ เราจึงมีพังการทำงาน การวางระบบของการใช้งานอุปกรณ์สำหรับติดต่อศูนย์ควบคุม เพื่อแจ้งเหตุต่างๆ มาให้ดูกันด้วย
ภาพนี้เป็นเพียงตัวอย่างในการวางระบบเท่านั้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าการทำงานนั้นมีหลายส่วน ทุกส่วนจะเชื่อมโยงไปยังห้องควบคุมที่อยู่ตามสถานที่นั้นๆ ซึ่งในห้องควบคุมก็จะประกอบไปด้วย โทรศัพท์ , แผงคอนโทรล เป็นต้น โดยอุปกรณ์นี้สามารถรองรับได้หลายคู่สาย หรือหลายช่องการสื่อสาร ไม่จำเป็นต้องเป็นอุปกรณ์กดเรียก 1 เครื่อง คู่กับชุดคอนโทรลในห้องควบคุม 1 ชุดแต่อย่างไร