ต้องบอกได้เลยว่า ระบบลูปดีเทคเตอร์   เป็นอุปกรณ์เสริมที่สำคัญ   ช่วยการทำงานให้กับตัว Photo Senser เพราะ ลูปดีเทคเตอร์ มีคุณสมบัติตรวจจับการทำงานเฉพาะวัตถุที่เป็นโลหะเท่านั้นหมายความว่า  ขณะที่มีรถจอดอยู่บนตัวลูปดีเทคเตอร์ แขนกั้นจะยังคงยกค้างไว้จนกว่าวัตถุจะทำการเคลื่อนที่ผ่านตัว ลูปดีเทคเตอร์ออกไปนั่นเอง หรือแม้ว่าจะทำงานขณะที่มีฝนตกก็ไม่สามารถรบกวนการทำงานของตัว LOOP ดีเทคเตอร์ได้นั่นเอง

ความสามารถ ลูปดีเทคเตอร์ (Loop Detector)

ในเบื้องต้น ลูปดีเทคเตอร์ (Loop Detector)  เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของแขนกั้นรถอัตโนมัติ ในระบบบริหารลานจอดรถ  เมื่อมีรถเคลื่อนเข้ามา โดยลูปฯ  ช่วยในการตรวจจับโลหะที่เคลื่อนที่เข้ามาอยู่ใกล้ในระยะตรวจจับ จะช่วยในการป้องกันการตีรถแขนกั้นรถยนต์  ทั่ว ไประยะการตรวจจับจะอยู่ระหว่าง 4 – 40 เมตร ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาด  และชนิดของเซนเซอร์   ซึ่งสำหรับการใช้งานกับแขนกั้นรถ  ตัวลูปฯ จะตรวจจับรถยนต์ ในขณะที่กำลังเคลื่อนที่ผ่านแขนกั้น สามารถตรวจจับว่าในขณะนั้นมีรถอยู่ใต้บริเวณที่แขนกั้นยกขึ้นอยู่หรือไม่     ลูปฯจะทำการส่งสัญญาณเมื่อมีรถยนต์เคลื่อนมาอยู่เหนือเส้นลวดที่ฝังอยู่ในพื้น อาจจะติดตั้ง 1 วง, 2 วง หรือ 3 วง ไว้ตามตำแหน่งต่างๆ อาทิเช่น การติดตั้ง 2 วง ไว้หน้าและหลังไม้กั้นตามระยะที่เหมาะสม เพื่อรับรู้ว่ารถยนต์มาอยู่หน้าไม้กั้นแล้ว และเคลื่อนตัวพ้นจากไม้กั้นแล้ว เป็นต้น

 

ลูปดีเทคเตอร์ ใช้หลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กมาตรวจจับโลหะโดยทำงานร่วมกับสายลูป เมื่อมีรถยนต์   ซึ่งมีตัวรถเป็นโลหะอยู่บนสายลูป ระบบอิเลคโทรนิกส์ ของลูปจะตรวจจับและสั่งให้แขนกั้นรถยนต์     อาศัยหลักการทำงานเดียวกันกับ พรอซิมิตี้สวิทช์ (Proximity switch) หมายความว่า  เมื่อมีวัตถุที่ทำด้วยโลหะเคลื่อนตัวมาอยู่ใกล้ระยะตรวจจับ โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 4 – 40 เมตร ซึ่งขึ้นกับขนาดและชนิดของเซนเซอร์ จะทำงานโดยการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กให้เคลื่อนที่  มีการทำงานร่วมกับสายลูป (สายไฟฟ้าที่ถูกฝังและกลบ ใต้พื้นถนน ลึกประมาณ 3 – 5 ซม.) เมื่อมีวัตถุซึ่งประกอบด้วยโลหะอยู่เหนือสายลูปดังกล่าว  ส่งผลให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านลูปดีเทคเตอร์มีปริมาณมากขึ้น   ระบบจึงตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าที่มากขึ้น และส่งสัญญาณเพื่อไม่ให้ไม้กั้นยกลงมาทำงาน เพื่อป้องกันไม่ให้ไม้กั้นรถยนต์หมุนลงมากระทบกับรถฯ

โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะมีคำสั่งมาจากไม่รีโมทคอนโทรลก็ระบบสั่งงานจากคีย์การ์ดเป็นหลัก ซึ่งการยกขึ้นยกลงของตัวแขนกั้นนั้น  จะต้องมีอุปกรณ์เซฟตี้ที่ถือว่าเป็นอุปกรณ์หลักที่จะขาดไม่ได้เลยในการวางระบบแขนกั้นรถ  เพราะเมื่อเวลา ไม้กั้นรถ กำลังทำงานแล้วเกิดมีสิ่งกีดขวางผ่านเข้ามา  ขณะตัวแขนกั้นนั้นกำลังทำงานอยู่ก็จะสามารถเซฟวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ผ่านบริเวณดังกล่าวได้   แต่เมื่อเวลาฝนตกอุปกรณ์ตัวที่ว่านี้มักจะมีปัญหาการทำงานขึ้นมาทันที   เพราะว่า Photo Senser นั้นขณะทำงานจะทำการยิงลำแสงอินฟาเรดออกมาเป็นเส้นตรงอยู่ตลอดเวลา  แต่เมื่อขณะมีฝนตกเจ้าลำแสงดังกล่าวจะถูกรบกวนการ

ลูปดีเทคเตอร์

การติดตั้งลูปดีเทคเตอร์ ( Loop Detector )

ลักษณะการติดตั้งลูปดีเทคเตอร์

ต้องติดตั้งจะมีการกรีดพื้นเป็นรูป 4 เหลี่ยมเพื่อฝังลวดทองแดงโดยจะขดทับกัน (ยิ่งมากยิ่งช่วยในการตรวจมากขั้น) จะนำขดลวดที่ขดทับกันมาต่อที่อุปกรณ์ตัวนี้ Loop Detector

อุปกรณ์ที่ต้องการใช้งาน

  • ขนาดสายที่ใช้ 1.5 ตารางมิลลิเมตร
  • เครื่องตัดถนนคอนกรีตแบบเดินตาม
  • Sealant สำหรับยาแนว

ข้อกำหนดก่อนเริ่มลงมือทำงาน

  • ความยาวสายทั้งหมดไม่เกิน 100 เมตร
  • สายที่ใช้ควรเป็น double layer waterproof
  • จำนวนรอบที่ต้องเพิ่มขึ้นตามความยาวของเส้นรอบรูป
  • ช่วงสายที่ต่อเข้าแขนกั้นควรตีเกลียวอย่างน้อย 20 เกลียวต่อความยาว 1 เมตร
  • ห่างจากขอบฟุตบาทด้านที่ติดตั้งแขนกั้น ประมาณ 30 ซม.
  • ควรลบมุมทุกมุมประมาณ 45 องศา ที่ระยะประมาณ 30 ซม.
  • ระยะห่างระหว่างด้านยาว ประมาณ 1 เมตร
  • ระยะห่างด้านกว้างตามความกว้างของถนน เช่น 2 , 3 หรือ 4 เมตร
  • ระยะห่างระหว่าง Loop แต่ละ Loop
  • ขนาดร่องที่ตัดควรลึกประมาณ 3-5 ซม. กว้างประมาณ 4 มม.

ระบบจอดรถอัจฉริยะ ระบบไม้กั้นรถยนต์

ขั้นตอนการติดตั้งลูปดีเทคเตอร์

  • ร่างเส้นรอบรูปที่ต้องการบนถนนด้วยสีสเปรย์
  • ตัดคอนกรีตตามเส้นร่างให้มีความลึกประมาณ 3-5 ซม. ควรมีความลึกที่สม่ำเสมอตลอดแนว
  • ทำความสะอาดร่องที่ตัดด้วยเครื่องฉีดน้ำหรือเครื่องเป่าลม
  • รอจนร่องที่ทำความสะอาดแห้งจึงนำสายวางลงไป ควรวางให้แนบกับท้องร่องเสมอเพื่อให้สายเดินเป็นระนาบเดียวกัน วนสายตามจำนวนรอบที่ออกแบบไว้
  • ใช้แผ่นตัดหรือแผ่นที่ไม่คมกดทับสายให้แนบสนิท
  • ตีเกลียวปลายสายก่อนเข้าต่อกับอุปกรณ์แขนกั้น
  • นำวัสดุยาแนวที่เตรียมไว้อุดลงไปในร่องที่วางสายแล้วเสร็จ